ปฏิทิน

< /embed>

นาฬิกา

< /embed>

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

ไทยใหญ่ : คนไทยที่ไม่ใช่ไทย

ชาวไทยใหญ่ หรือ ฉาน หรือ ฌาน เป็นกลุ่มคนไทยกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในเขตพม่า ตอนใต้จีน และภาคเหนือของประเทศไทย บางท่านว่าคำว่า ฉาน คือที่มาของคำว่า สยามในพม่ามีรัฐใหญ่ของชาวไทยใหญ่ ชื่อ ฉานเสตท SHAN STATE ในปีพ.ศ. 2491รัฐบาลพม่าได้ผนวกดินแดนรัฐฉานเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพพม่าตามข้อตกลง ของสนธิสัญญาปางโหลง ซึ่งลงนามโดย อู อองซาน ร่วมกับผู้แทนชนกลุ่มน้อยรัฐฉานเพื่อการหลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ โดยมีเงื่อนไขที่ว่า รัฐบาลพม่าจะยอมให้ชนกลุ่มน้อยปกครองตนเองและเป็นเอกราช เพื่อพ้นระยะเวลาสิบปี


ต่อมาเมื่อถึง พ.ศ. 2500 ซึ่งครบกำหนดสิบปีของสัญญารัฐบาลพม่ากลับเพิกเฉย ชนกลุ่มน้อยจึงถือว่ารัฐบาลพม่าผิดคำมั่นสัญญา จึงเป็นมูลเหตุให้ชนกลุ่มน้อยต่างๆ ดำเนินการต่อต้านรัฐบาลพม่าอย่างเปิดเผย โดยมีพื้นที่แต่ละชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่เป็นฐานที่มั่นทางการพม่าทำการปราบ ปรามเกิดเป็นการสู้รบและสงครามที่ยืดเยื้อ ปัญหาเกี่ยวกับการต่อต้านรัฐบาลพม่าของชนกลุ่มน้อยจึงเรื้อรังสืบเนื่องมาจน ทุกวันนี้และก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงตลอดแนวชายแดน ไทย-พม่าโดยอาณาเขตของรัฐฉานนั้นติดกับแนวชายแดนไทยตั้งแต่บริเวณจังหวัด แม่ฮ่องสอนมาจนถึงจังหวัดเชียงใหม่ในอำเภอเวียงแหง อำเภอฝางและอำเภอเชียงดาวและสิ้นสุดที่อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงรายด้วยความ ไม่สงบในพม่า การปกครองที่ไม่เรียบร้อย และการสู้รบ ทำให้ชาวไทยใหญ่จำนวนไม่น้อยอพยพเข้ามาสู่ประเทศไทย
ชาวไทยใหญ่เหล่านี้เป็นผู้ลี้ภัย ที่หวังพึ่งพระบรมโพธิสมภาร


กระทรวงมหาดไทยและสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาติ(UNHCR)ได้ร่วม กันจัดทำทะเบียนและการช่วยเหลือด้านอื่นๆตามความจำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามข้อ ตกลงการทำงาน(Working Arrangement) 7 ประการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับUNHCR โดยลงนาม เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
ข้อตกลง 7 ประการได้แก่

1. การพิจารณารับเข้าลี้ภัย เจ้าหน้าที่ไทยมีสิทธิ์ให้หรือปฏิเสธการให้ที่พักพิงชั่วคราว เจ้าหน้าที่ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ เป็นเพียงผู้สังเกตการณ์เท่านั้น ไม่มีการคัดกรองสถานภาพผู้ลี้ภัยเมื่อมาถึง


2. การลงทะเบียน กระทรวงมหาดไทยจะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ช่วยการลงทะเบียนในพื้นที่พักพิงชั่วคราวที่กำหนด เพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งตัวออกนอกประเทศ โดยให้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่ไม่อนุญาตให้ปลูกสร้างขึ้นใหม่


3. การเข้าถึงของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ กระทรวงมหาดไทยหรือทหารเป็นหน่วยงานที่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานข้า หลวงใหญ่ฯ เข้าถึงพื้นที่พักพิงได้อย่างเสรีและไม่ชักช้าโดยการแจ้งให้เจ้าหน้าที่ส่วน กลาง ของไทยทราบล่วงหน้าก่อนในแต่ละครั้ง


4. การส่งตัวออกนอกประเทศ ไทยยินดีให้โอกาสแก่ผู้พลัดถิ่นที่จะเลือกกลับได้โดยเจ้าหน้าที่มหาดไทยหรือ ทหาร จะช่วยประสานการกลับที่ปลอดภัย และเชิญเจ้าหน้าที่ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ มาเป็นพยานและตรวจสอบความสมัครใจโดยไม่ขัดขวางกระบวนการเช่นให้สอบถามหัว หน้าครอบครัวมากกว่าถามเป็นบุคคล เมื่อสภาพการณ์เอื้ออำนวยต่อการส่งตัวกลับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานข้าหลวง ใหญ่ฯจะช่วยจัดการในการส่งตัวกลับโดยสมัครใจภายใต้การอนุญาตของรัฐบาลพม่า และดูแลการกลับพร้อมทั้งอำนวยความสะดวกการกลับคืนถิ่นในประเทศพม่า


5. การย้ายพื้นที่พักพิงชั่วคราว เจ้าหน้าที่มหาดไทยหรือทหารมีสิทธ์ดำเนินการให้เป็นไปตามการตัดสินใจของ รัฐบาลไทยในการย้ายส่วนผู้พลัดถิ่นมีสองทางเลือกคือถูกย้ายหรือกลับพม่า สำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯสนับสนุนการตัดสินใจของไทยและช่วยเคลื่อนย้ายผู้พลัด ถิ่นวัสดุที่พัก น้ำดื่ม รั้วและสิ่งอำนวยความสะดวกในการรักษาความปลอดภัย และการลงทะเบียน


6. ตัวแปรในการช่วยเหลือของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ การช่วยเหลือทุกอย่างต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลไทย กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำกับ ดูแลให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและจัดการพื้นที่พักพิงชั่วคราวสำนักงาน ข้าหลวงใหญ่ฯอาจให้ความช่วยเหลือ เพิ่มเติมแก่พื้นที่พักพิงชั่วคราวได้เพียงพอแก่ความต้องการพื้นฐาน ของชีวิตเท่านั้นเพื่อป้องกันแรง ดึงดูดใจผ่านทางรัฐบาลไทยและประสานกับกระทรวงมหาดไทยในการจัดเตรียมความช่วย เหลือดังกล่าว


7. ยุทธศาสตร์ระยะยาว คณะอนุกรรมการไทย-พม่าด้านบุคคลพลัดถิ่นและแรงงานผิดกฎหมายจะเป็นผู้จัดทำ ยุทธศาสตร์ หรือแผนการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ ส่วนสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ จะเจรจากับพม่าเพื่อสร้างความมั่นใจ ในบทบาทของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ในการดูแลการส่งกลับอย่างปลอดภัยและให้ความช่วยเหลือในการตั้งถิ่นฐานโดย เร็ว โดยสร้างความเชื่อมั่นและไว้ใจแก่รัฐบาลพม่าคนไทยใหญ่จำนวนนับหมื่นคนลี้ภัย เข้ามาในประเทศไทย เพิ่งเข้ามาบ้าง เข้ามานานแล้วบ้าง แต่รัฐยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนกับคนเหล่านี้ไม่มีการกำหนดให้ไทยใหญ่เป็น ชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งในประเทศไทย และไม่ยอมรับให้คนกลุ่มนี้เป็นคนไทยรวมทั้งไม่ยอมรับว่า กลุ่มไทยใหญ่เป็นผู้ลี้ภัยที่รัฐไทยต้องช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม เพื่อรอการส่งกลับประเทศต้นทางเมื่อประเทศต้นทางมีความปลอดภัยเมื่อรัฐไม่ จัดพื้นที่พักพิงชั่วคราวไว้รองรับที่ชายแดน ทำให้ชาวไทยใหญ่จำนวนมากทะลักเข้าสู่ตัวเมืองด้านในเครือข่ายปฏิบัติงาน เพื่อผู้หญิงชาวไทยใหญ่หรือ สวอน ได้เคยตอบไว้ในเอกสารเรื่อง "ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับผู้ลี้ภัยชาวไทยใหญ่ (ฉาน)" เมื่อปี 2546 ว่าเป็นเพราะรัฐไทยมีความเชื่อผิดๆ เก้าประการดังต่อไปนี้

ประการแรก ชาวไทยใหญ่เป็นแรงงานอพยพไม่ใช่ผู้ลี้ภัย ในความเป็นจริง ชาวไทยใหญ่ที่เข้ามาในเมืองไทยหลังจากเดือนมีนาคม พ.ศ. 2539 เป็นผู้หนีภัยการละเมิดสิทธิมนุษยชน จากนโยบายของรัฐบาลทหารพม่าซึ่งบังคับให้ประชาชนย้ายออกจากหมู่บ้าน 1,400 แห่งทางภาคกลางของรัฐฉาน ทำให้ประชาชนมากกว่า 3 แสนคนถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนัก ชาวไทยใหญ่จำนวนมากได้อพยพครอบครัว ซึ่งมีทั้งเด็ก ผู้หญิง และคนชรา ที่มิได้อยู่ในวัยแรงงานมาในเมืองไทย


ประการที่สอง ชาวไทยใหญ่เป็น "พี่น้อง" กับคนไทย จึงผสมกลมกลืนเข้ากับสังคมไทยได้โดยง่าย และไม่ต้องการแหล่งพักพิงหรือความช่วยเหลือใดๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ชาวไทยใหญ่ต้องมีชีวิตอยู่อย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ ในฐานะคนผิดกฎหมาย นอกจากนี้ เด็ก ผู้หญิง คนชรา และคนพิการ มีความต้องการแหล่งพักพิงที่ปลอดภัยและความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมเป็น อย่างมาก


ประการที่สาม ประเทศไทยไม่ได้ร่วมลงนามในอนุสัญญา สหประชาชาติปี พ.ศ. 2494 ว่าด้วยเรื่องสถานะของผู้ลี้ภัยจึงไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ ที่จะต้องให้ความคุ้มครองต่อผู้ลี้ภัยชาวไทยใหญ่ แต่เนื่องจากประเทศไทยมีพันธะผูกพันตามหลักกฎหมายสากลและมาตรฐานทางด้าน มนุษยธรรม ซึ่งไม่ควรเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ ทว่า ประเทศไทยกลับจัดหาที่พักพิงให้กับผู้ลี้ภัยกลุ่มอื่น ๆ อาทิ กลุ่มกะเหรี่ยง และกลุ่มคะยาห์ โดยละเลยกลุ่มไทยใหญ่
ประการที่สี่ หากมีการรณรงค์ให้มีการปกป้องผู้ลี้ภัยชาวไทยใหญ่ จะทำให้หน่วยงานที่ไม่ต้องการให้มีค่ายผู้ลี้ภัยเกิดความไม่พอใจจนทำให้มี การกวาดล้างชาวไทยใหญ่มากยิ่งขึ้น ความเชื่อนี้ตรงกันข้ามกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากการเรียกร้องให้มีสถานที่พักพิงผู้หนีภัยการสู้รบเมื่อปี 2545 ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ลี้ภัยไทยใหญ่ได้รับอนุญาตให้มีที่พักอาศัยชั่วคราว และได้รับความช่วยเหลือมากยิ่งขึ้น


ประการที่ห้า ผู้ลี้ภัยไทยใหญ่ขนยาเสพติด ก่อ อาชญากรรม และนำโรคติดต่อมาสู่ประเทศไทย ผู้ลี้ภัยไทยใหญ่ นับเป็นจำนวนน้อยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการค้ายาเสพติด โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะไม่มีทางเลือกในอาชีพอื่นและต้องการดิ้นรนเพื่อ ความอยู่รอดของครอบครัวที่อพยพมาทั้งหมด การจัดที่พักพิงและให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมจะเป็นหลักประกันพื้น ฐานที่ทำให้ผู้ลี้ภัยไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการ ยาเสพติดเพื่อความอยู่รอด และสามารถควบคุมปัญหาโรคภัยไข้เจ็บและการก่ออาชญากรรมได้มากขึ้น


ประการที่หก การให้การรับรองสถานะผู้ลี้ภัยแก่ชาวไทยใหญ่จะเท่ากับเป็นการเปิดประตูให้ ผู้ลี้ภัยจากรัฐฉานหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก เนื่องจากปัญหาผู้ลี้ภัยไทยใหญ่เกิดจากปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า การแก้ปัญหาการหลั่งไหลของผู้ลี้ภัย คือ การกดดันให้รัฐบาลทหารพม่ายุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบ การจัดหาค่ายให้ผู้ลี้ภัยไทยใหญ่จะทำให้รัฐบาลไทยสามารถควบคุมปัญหาต่าง ๆ ได้ดีกว่าการปล่อยให้ผู้ลี้ภัยไหลทะลักเข้ามาและอยู่อย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ และเมื่อประเทศพม่าได้รับสันติภาพ การส่งตัวกลับจะทำได้ง่ายกว่าการปล่อยให้ผู้ลี้ภัยอาศัยอยู่อย่างกระจัด กระจาย


ประการที่เจ็ด ประเทศไทยต้องเป็นผู้แบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการสร้างค่ายและการให้ความช่วย เหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวไทยใหญ่ เนื่องจากค่าใช้จ่ายสำหรับค่ายผู้ลี้ภัยต่างๆ ที่อยู่ในประเทศไทยเกือบทั้งหมดเป็นเงินบริจาคจากองค์กรระหว่างประเทศทั้ง สิ้น สิ่งที่ประเทศไทยต้องรับภาระมีเพียงค่าจ้างบุคลากรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น


ประการที่แปด ผู้ลี้ภัยเป็นผู้ทำลายสภาพแวดล้อม หลักฐานที่ผ่านมาปรากฏชัดเจนว่า ผู้ลี้ภัยเป็นเพียงแพะรับบาปของนายทุนไทยรายใหญ่เท่านั้น และชาวบ้านในค่ายผู้ลี้ภัยถูกควบคุมเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างเข้มงวดมาโดย ตลอด


ประการสุดท้าย ค่ายจะถูกนำไปใช้เป็นที่ซ่องสุมกำลังของกลุ่มต่อต้านเพื่อเข้าไปใช้กำลัง ต่อสู้ในประเทศพม่า เนื่องจากสงครามกลางเมืองในรัฐฉานเกิดจากความขัดแย้งภายใน พม่า การมีค่ายผู้ลี้ภัยไทยใหญ่จึงไม่ใช่ตัวชี้วัดการดำรงอยู่ของความขัดแย้งดัง กล่าว ในทางกลับกัน การขาดแหล่งลี้ภัยและความช่วยเหลือต่าง ๆ กลับจะทำให้ชาวไทยใหญ่ไม่มีทางเลือกอื่น และหันกลับไปจับอาวุธปืนต่อสู้กับรัฐบาลทหารมากยิ่งขึ้น ซึ่งนั่นทำให้วงจรความรุนแรงในรัฐฉานยังคงดำเนินต่อไป และทำให้มีชาวไทยใหญ่ไหลทะลักมาในเมืองไทยมากยิ่งขึ้น


จากข้อมูลที่สรุปมาข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาของผู้ลี้ภัยไทยใหญ่เป็นเรื่องสลับซับซ้อนมากเกินกว่าที่เราจะนำมาตร วัดอันเดียวมาตัดสิน แต่เราคงจำเป็นต้องชั่ง ตวง วัด น้ำหนักของสิ่งต่าง ๆ อย่างสมดุล โดยเฉพาะน้ำหนักระหว่าง "มนุษยธรรม" กับ "ความมั่นคง" บนเส้นเขตแดนที่มนุษย์เพิ่งกำหนดขึ้นมาภายหลัง ที่สำคัญคือ ต้องยอมรับความจริง และหันหน้าเข้าแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นการทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น จะยิ่งทำให้ปัญหาลุกลามเพิ่มขึ้น ผลเสียก็จะเกิดกับประเทศไทยของเราเอง


ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่า


1. การที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสถานะของผู้ ลี้ภัย ปี ค.ศ. 1951 หรือไม่นั้น มีความสำคัญมาก แต่ความรับผิดชอบ การตระหนักถึงหลักมนุษยธรรม และความจริงใจของรัฐในการแก้ไขปัญหาในด้านผู้อพยพตามแนวชายแดนไทย-พม่ามี ความสำคัญมากกว่า


2. รัฐควรเพิ่มข้อพิจารณาการให้ความช่วยเหลือผู้หนีภัยจากการสู้รบ จากเดิมที่รัฐจะรับให้ความช่วยเหลือเฉพาะผู้หนีภัยความตายที่หนีภัยจากการ สู้รบที่เป็นภัยที่ถึงแก่ชีวิตโดยตรงอันเนื่องมาจากสงครามการเมืองเท่านั้น ซึ่งควรเพิ่มการพิจารณารวมไปถึงผู้ที่หนีภัยความตายในรูปแบบอื่นด้วย เช่น การหนีภัยความตายโดยอ้อม ภัยความตายโดยอ้อมนั้นได้แก่ ภัยจากการถูกข่มขืน ภัยจากการบังคับเกณฑ์แรงงาน ซึ่งการคุกคามดังกล่าวนำไปสู่การทารุณร่างกายและเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ขั้นรุนแรง สมควรได้รับการคุ้มครองดูแลเฉกเช่นเดียวกันผู้หนีภัยการสู้รบด้วย เนื่องจากเป็นภัยจากสงครามที่เป็นอันตรายถึงชีวิตเช่นกัน


3. การไม่มีนโยบายที่เป็นรูปธรรม ในการจัดการผู้หนีภัยการสู้รบที่เป็นชาวไทยใหญ่นั้น ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติของรัฐบาล เนื่องจากรัฐยกเว้นชาวไทยใหญ่มิให้ได้สถานะทางกฏหมายและปฏิเสธการให้การดูแล อย่างเท่าเทียมกับผู้หนีภัยการสู้รบเชื้อชาติอื่นๆ ที่หนีภัยการสู้รบเข้ามาจากพม่า ซึ่งผู้หนีภัยการสู้รับที่เป็นชนกลุ่มน้อยต่างๆ ที่หนีเข้ามาล้วนได้รับการปฏิบัติจากรัฐบาลทหารพม่าเลวร้ายไม่แตกต่างกัน ดังนั้นรัฐควรเร่งพิจารณาการวางนโยบายในด้านการช่วยเหลือผู้อพยพที่เป็นชาว ไทยใหญ่อย่างเป็นรูปธรรม


4. รัฐควรเปิดโอกาสให้ UNHCR และองค์กรเอกชนเข้าไปให้ความช่วยเหลือได้ตามความเหมาะสมภายใต้การควบคุมของ รัฐบาลซึ่งทำให้รัฐไม่ต้องรับภาระในการจัดการดังกล่าวอีกทั้งยังเป็นการร่วม กันพัฒนาพื้นที่ชนบทที่อยู่ตามแนวชายแดนอีกทางหนึ่งด้วย


5. รัฐควรมีบทบาทในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์ของผู้หนี ภัยการสู้รบเชื้อชาติต่างๆที่เข้ามาในประเทศไทยทั้งในส่วนของพื้นที่พักพิง ชั่วคราว 9แห่งและผู้หนีภัยการสู้รบที่อยู่นอกพื้นที่พักพิงชั่วคราวที่ใช้ชีวิตร่วม สังคมเดียวกันกับประชาชนไทยเพื่อความเข้าใจอันดีของประชาชนทั้งสองประเทศ เช่น ทำข้อมูลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้หนีภัยการสู้รบผ่านทางเวปไซด์ของ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและปรับปรุงข้อมูลใหม่อยู่เสมอเพื่อสร้างความ เข้าใจที่ตรงกัน ซึ่งหากกลไกลของสังคมเช่น นักวิชาการ สื่อมวลชน ภาคธุรกิจและประชาชนมีความเข้าใจที่ตรงกับสภาพความเป็นจริงแล้วย่อมจะเป็น ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลวางนโยบายที่เหมาะสมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้


6. รัฐควรสนับสนุนให้มีการศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่าง จริงจัง เนื่องจากสังคมไทยส่วนหนึ่งยังมีอคติต่อประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศพม่าที่คนไทยมองว่าเป็นศัตรูตามประวัติศาสตร์การสู้รบสมัยกรุง ศรีอยุธยาซึ่งส่งผลให้ความรู้สึกเรื่องความเป็นชาตินั้นมีผลในระดับลึกถึง จิตใจของคนไทยและส่งผลให้เกิดการแบ่งแยกและดูหมิ่นชนกลุ่มน้อยที่มาจาก ประเทศพม่าว่าเป็นคนที่ต้อยต่ำ ประกอบกับอาชีพที่ชนกลุ่มน้อยได้รับในประเทศไทยนั้นมักเป็นอาชีพใช้แรงงาน บ้างก็เป็นสาวใช้ในบ้าน ยิ่งเป็นการตอกย้ำการดูแคลนชนกลุ่มน้อยที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย แทนที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความเข้าใจ ความเห็นใจและมองเห็นคุณค่าของมนุษย์ด้วยกันข้ามผ่านพรมแดนของรัฐชาติที่ถูก สมมติขึ้นมา

ผักที่เรากินมาจากส่วนไหนของพืช


รู้หรือไม่ ผักที่เรากินๆ กันอยู่ทุกๆวัน หรือบางคนแทบไม่กินเลย ไม่ได้มาจากใบ แต่มาจากส่วนต่างๆ เกือบทุกส่วนของพืช แล้วเพื่อนๆ แยกออกหรือไม่ว่า ส่วนไหนมาจากส่วนไหน วันนี้เราจะมาดูพืชยิดนิยมที่เรากินกัน และ มันมาจากส่วนใดของพืช จะได้เป็น เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ

* ขิง, ข่า, ขมิ้น, มันฝรั่ง, เผือก, แห้ว มาจากลำต้น
* กระชาย, มันแกว, แครอท, หัวไชเท้า, มันเทศ คือ ราก
* ส่วนอีกอันที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าเป็นราก คือหอมหัวใหญ่ จริงๆมันคือ ใบต่างหาก

หวังว่าคงได้เป็นเกร็ดความรู้รอบตัวนะครับ

"คลินิกอาข่า" ต้นแบบการรักษา แนวแพทย์ผสมผสาน

ในเพิงพัก แม่เฒ่าเผ่าอาข่ากำลังนั่งมองลายมือเด็กน้อยน้ำตาเอ่อที่นั่งห่อไหล่อยู่ ฝั่งตรงข้าม ด้านหลังเด็กน้อยบรรดาผู้ใหญ่ในหมู่บ้านต่างจ้องมาทางแม่เฒ่าไม่คลาดสายตา เด็ก ๆ ที่อยู่ด้านนอกชะเง้อมองการพิเคราะห์โรคผ่านช่องลมข้างโต๊ะ แม่เฒ่านิ่ง...นำสายสิญจน์มาผูกมือเด็กน้อยแล้วพูดด้วยเสียง เนิบ ๆ ผู้ใหญ่ยิ้ม-แม่เฒ่ายิ้ม-เด็ก ๆ ยิ้ม

การวินิจฉัยโรคของ "ยีผ่า" อันเป็นพิธีกรรมการวินิจฉัยโรคของหมอประจำหมู่บ้านแม่จันใต้ ต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย จบลงด้วยรอยยิ้ม

คนหนุ่มร่างสันทัดในเสื้อกาวน์ยืนยิ้มอยู่ห่าง ๆ กับความสำเร็จที่ตนเองได้สร้างขึ้น ในการผนวกนำเอาแพทย์ แผนปัจจุบันกับการรักษาแบบพื้นบ้านชาวอาข่ามารวมกันในที่เดียว แต่กว่าจะเกิดรอยยิ้มวันนี้คนหนุ่มอย่าง ธรพล เฌอมือ (อาจือ) แพทย์แผนไทยอิสระ เชื้อสายอาข่า ต้องผ่านการพิสูจน์มานักต่อนัก

หมู่บ้านอันห่างไกลความเจริญเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ "อาจือ" อยากเป็นหมอ เพราะเมื่อตอนเด็ก ๆ บ่อยครั้งแม่ต้องเข้าไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลในเมือง การเดินทางต้องขี่ม้าเพื่อไปต่อรถสองแถว ครั้นพอไปถึงแล้วสื่อสารกับหมอไม่เข้าใจเนื่องจากพูดภาษาไทยไม่ได้ อาชีพหมอจึงผ่านเข้ามาในความคิด แต่พอเข้าเรียนมหาวิทยาลัย เขาก็หันเหมาเรียนหลักสูตรแพทย์แผนไทย เพราะการเรียนแพทย์แผนปัจจุบันใช้เงินเรียนสูง ขณะที่เป้าหมายชีวิตคือ หมอบนดอย ที่มีความลำบากครั้นจะเป็นแพทย์แผนปัจจุบันต้องขนเครื่องมือราคาแพงขึ้นมา รักษา ซึ่งการเรียนแพทย์แผนไทยจะสามารถใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่ทั่วไปได้

สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิด โครงการคลินิกเคลื่อนที่ เพื่อสุขภาพสู่ชาวเขา โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) "อาจือ" มองว่า การรักษาชาวอาข่าที่ยังมีความเชื่อเรื่องภูตผีในหมู่คนที่อายุ 35 ปีขึ้นไป ขณะที่คนรุ่นใหม่หลายคนไม่ใช้การรักษาแบบเดิม ซึ่งเมื่อมีการนำความรู้พื้นบ้าน มาใช้ จึงเกิดแนวคิดการออกตรวจโดยมีทั้งการรักษาแบบเดิมโดยใช้ยาสมุนไพรและการ รักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบัน

"เราพยายามคำนึงถึงการรักษาเพื่อให้สุขภาพดีและทำให้จิตใจมีความสุขไม่วิตก กังวล เช่น บางรายตกเขาจนได้รับความกระทบกระเทือนทางสมอง แพทย์แผนไทยอาจช่วยได้ยากจึงต้องให้คนไข้พบแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งหลังจากนั้นจะอยู่ในช่วงการพักฟื้น ซึ่งสามารถใช้ยาแผนไทยในการบำรุงและสามารถนำหมอพิธีกรรมมาทำพิธีเพื่อให้ เกิดความสบายใจแก่คนไข้และญาติพี่น้อง"

โดยเมื่อคนไข้มาหา หมอจะทำการคัดกรอง ซึ่งแบ่งออกเป็น 1.สมุนไพรบำบัด หรือ "นะซึสล่า" เพื่อบำรุงและคัดกรองเบื้องต้น 2.กายภาพบำบัด มีหลายวิธี เช่น หมอนวด หรือ "ส่ากู่เง่" คือผู้ที่มีความชำนาญด้านการนวดเอ็น ขณะที่ ย่ำข่าง หรือ ซุ้ม เน เนอะ เป็นการรักษาโดยไม่ทราบสาเหตุ ด้าน "ซากือ" เป็นการรักษาอาการปวดเวียนศีรษะ ในกรณีที่กระดูกหัก ซึ่งหมออาข่ามีความชำนาญอย่างมาก

3.พิธีกรรมบำบัด คือ "พิมะ" หมอที่ทำหน้าที่ตรวจวินิจฉัยโรค ที่ไม่ทราบสาเหตุ และทำหน้าที่รักษาด้วยบทสวด ซึ่งจะมี

ความแตกต่าง กันไปตามโรคที่เจ็บป่วย การรักษาบางทีทำหน้าที่เป็นผู้ สะเดาะเคราะห์ตามคำวินิจฉัย ด้าน "สะมะ" คือ หมอที่มีพรสวรรค์เรียกว่าผู้ที่มีสัมผัสที่หกด้านการมองเห็นความเจ็บป่วย ที่เกิดจากสิ่งเหนือธรรมชาติกระทำ สามารถวินิจฉัยโรคด้วยการสัมผัส การซักถาม การสังเกตอาการ แล้วจึงวินิจฉัย อาจใช้ยาสมุนไพรควบคู่พิธีกรรมหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วน "ยีผ่า" อาจเทียบเคียงได้กับหมอทรง โดยเข้าทรงแล้วเดินทางไปสู่โลกหลังความตาย เพื่อตามขวัญของผู้ป่วย เมื่อเจอขวัญแล้วจะนำกลับมา อาจเกิดการต่อรองระหว่าง "ยีผ่า" กับวิญญาณร้าย เช่น วิญญาณร้ายอาจขอไก่ 1 ตัว ซึ่งจะทำการสะเดาะเคราะห์ต่อไป 4.หมอตำแย "ย่าชีอ่าม่า" เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำคลอดและดูแลหลังคลอด

สำหรับโรคที่คนอาข่าเป็นบ่อยคือ โรคปวดกล้ามเนื้อ เนื่องจากการทำงาน โรคทางเดินหายใจในช่วงเปลี่ยนฤดู โรคทางเดินอาหาร เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร โรคผิวหนัง ที่เกิดจากสารเคมีที่ทำการเกษตร

การออกตรวจโดยร่วมกันระหว่างแพทย์สมัยใหม่กับหมอท้องถิ่นไม่ใช่เรื่องง่าย ก่อนอื่นต้องทำการอบรมเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับข้อดีของแต่ละ ศาสตร์เพื่อให้ทุกฝ่ายเปิดใจ และทำการรักษาร่วมกัน ซึ่งหมอที่ทำด้านพิธีกรรมบางคนรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจเพราะลูกหลานรุ่นใหม่บาง คนไม่ยอมมารักษา แต่ พอมาเข้าร่วมรักษาทุกฝ่ายต่าง มีความภูมิใจในตนเองและเปิดใจยอมรับแพทย์ทางเลือกมากขึ้น

สิ่งที่ช่วยอย่างมากในการทำงานร่วมกันเกิดจากแผนแม่บทปัจจุบันที่บังคับให้ โรงพยาบาลมีแพทย์แผนไทยประจำอย่างน้อย 1 คน ทำให้คณะแพทย์อาข่าสามารถติดต่อกับแพทย์แผนปัจจุบันได้ด้วยแพทย์แผนไทยที่ อยู่ในโรงพยาบาลเป็นผู้ประสานและพูดคุยทำความเข้าใจในการทำงาน สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ท้าทายในอนาคตที่ต้องพยายามทำให้แพทย์ทั้งสองฝ่าย ในหลายพื้นที่เปิดใจเข้าหากันมากขึ้น

ส่วน เบทู เชอมือ ชาวอาข่าในหมู่บ้านแม่จันใต้ กล่าวว่า หมู่บ้านห่างจาก โรงพยาบาลกว่า 50 กิโลเมตร การเดินทางส่วนใหญ่มีความลำบากเนื่องจากถนนยัง เป็นดินแดง การออกหน่วย รักษาโดยผสมผสานระหว่างหมอ อาข่าและหมอแพทย์แผนไทย ทำให้คนรุ่นใหม่ในหมู่บ้านได้รู้จักการรักษาแบบดั้งเดิม ขณะ ที่คนรุ่นเก่าก็ได้รู้ถึงการรักษาแบบใหม่

การรักษาของหมออาข่าที่ส่วนใหญ่มักไม่บอกผู้อื่นทำให้ศาสตร์ที่ติดตัวหายไป พร้อมกับการเสียชีวิตของหมอผู้เฒ่า แต่การมารักษาร่วมกันทำให้ได้เรียนรู้การรักษายาสมุนไพรที่ช่วยให้รู้ว่า เมื่อเกิดอาการขึ้นควรใช้สมุนไพรตัวไหน อนาคตจึงอยากให้ภาครัฐหันมาสนใจการรักษาร่วมกันทั้งแบบปัจจุบันและพื้นบ้าน มากขึ้นเพื่อรักษาความรู้เก่า ๆ ไว้

ศาลาที่พักด้านนอกในหมู่บ้าน แม่บ้านชาวอาข่าตั้งวง หยิบซองยาที่หมอจ่ายให้ขึ้นมาถกเถียง และให้คนที่อ่านภาษาไทยออกอธิบาย สังคมเอื้อเฟื้อได้เริ่มขึ้น.

วิธีฟังวิทยุออนไลน์

เพื่อนๆ คงอยากรู้ว่าฟังวิทยุออนไลน์ บนเว็บทำได้่ยังไงใช่มั้ยล่ะ เราจะอธิบายให้ฟังคร่าวๆ นะ เริ่มก็คือ ทางเจ้าของสถานีวิทยุออนไลน์ เค้าจะส่งสัญญาณ ผ่านอินเตอร์เน็ต เราก็เพียงเอาโค้ดของ เค้ามาใช้ แปะ กับ เครื่องมือเช่น windows media player แล้ว มันก็จะเล่นวิทยุ นั้นๆ อัตโนมัติ ถือได้ว่าเป็นอะไร ที่เจ๋งมากๆ เจ้าคอมพิวเตอร์ สามารถ เป็น วิทยุออนไลน์ ได้ด้วย แต่ เสียดาย อย่างนึงคือ ต้อง ต่อ อินเตอร์เน็ต ก่อนถึงจะเล่นได้ อะนะ อย่างเว็บในเครือ bunterng ก็มี วิทยุออนไลน์ เหมือนกัน ซึ่งทำไว้ให้ ชาว บันเทิงได้ใช้กันง่ายๆ บริการฟรี ตลอด 24 ชั่วโมงด้วยหล่ะ ก่อนอื่นต้องขอบคุณ เจ้าของ ช่องที่เผยแพร่สัญญาณวิทยุออนไลน์บนอินเตอร์เน็ตครับ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

คือชีวิต....


อาจมีบางสิ่งที่เคยทำให้เราเจ็บ...

อาจมีบางเวลาที่เราเคยทุกข์เศร้าสุดแสน

จนคิดว่าไม่อาจทนทานอีกต่อไปได้...

แต่สิ่งต่างๆ วันเวลาเหล่านั้น...

ในที่สุดก็ได้ผ่านพ้นไป...

เหมือนพายุย่อมต้องมีวันสงบ

เหมือนท้องฟ้ามืดมน...ย่อมต้องมีวันสว่างสดใส...

และแล้วเราก็ได้ผ่านมาจนถึงวันนี้...

เชื่อไหม ?...แม้ขณะนี้เราจะรู้สึกเป็นทุกข์มากมาย

หรือได้พบพานสิ่งเจ็บร้าวในใจอย่างไร

ที่สุดแล้วเราก็จะเดินทางไปถึงวันพรุ่งนี้จนได้

ชีวิตก็เป็นเช่นนี้...ไม่มีสิ่งใดน่ากลัว...

เพราะในที่สุดทุกสิ่งทุกอย่างย่อมจะผ่านไปตามกาลเวลา...

ขอเพียงเราได้กระทำทุกสิ่งให้ดีที่สุด

พรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร...

เราก็ต้องไปถึงอยู่แล้ว...

ความสุขอยู่แค่เอื้อม

คนส่วนใหญ่เชื่อว่าคนที่มีความสุขที่สุด

คือคนที่มีสิ่งที่ดีที่สุดอยู่ในกำมือ...

มีเงินมากที่สุด มีบ้านหลังใหญ่ที่สุด มีรถหรูหราราคาแพงที่สุด

มีคนรักที่สวยที่สุด มีพ่อแม่ที่ใจกว้างที่สุด มีเพื่อนที่ซื่อสัตย์ที่สุด...

มีทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นที่สุดของที่สุดครอบครองอยู่

ซึ่งความจริงแล้วอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลยก็ได้

เพราะคนที่มีความสุขที่สุด...หลายคนอาจไม่ใช่คนร่ำรวย

อาจไม่ใช่คนที่มีแฟนสวย หรือมีรถราคาแพงโก้หรู

เขาอาจเป็นคนธรรมดาๆ ที่สามารถหาความสุขจากสิ่งที่มีอยู่ได้อย่างง่าย

เพียงการเดินเล่นในสวนสาธารณะในยามเย็นหลังเลิกงาน

เพียงการนั่งดื่มเบียร์ราคาถูกๆ กับเพื่อนที่รู้ใจสักคน

เพียงการส่งยิ้มให้กับสาวหน้าหวานที่เขาแอบปิ้งมานานแต่ไม่กล้าเข้าไปจีบ

เพราะความสุขไม่ได้อยู่ไกลตัวของเราเลย

ความสุขอยู่รายรอบตัวเราเสมอ

ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเห็นมันหรือไม่...

ความสุขไม่ต้องใช้เงินเงินแลกมาก็ได้

เพราะบ่อยครั้งที่เราซื้อความสุขและคิดว่าเราคงสุขเต็มที่

แต่เรากลับไม่เป็นเช่นนั้น...

และหากเราต้องใช้เงินเพื่อที่จะซื้อความสุข

สิ่งนั้นไม่น่าถูกเรียกว่าความสุข

ความสุขอยู่ใกล้ๆ ตัวเรามากจนเราไม่อาจรับรู้

ความสุขอยู่ที่มุมปากของเราเอง...

หากเรายิ้มด้วยหัวใจ ความสุขก็ปรากฏกาย

ปรากฏกายให้ทั้งตัวเราและผู้อื่นได้มีความสุขไปพร้อมๆกัน...